รับเขียน JAVA , รับเขียน JSP , strut framework , hibernate , websphere , tomcat , jboss , เขียน jboss
รับเขียน JAVA ด้วยทีมงานคุณภาพที่มากด้วยประสบการณ์ที่ ทำการ รับเขียน JAVA มานานกว่า 15 ปี ทำให้เรารู้ถึงปัญหาการ รับเขียน JAVA ซึ่งการ รับเขียน JAVA ไม่ใช่แค่งาน เขียนโปรแกรมอย่างเดียว มันยังต้องมีการวางแผน
รับเขียน JAVA Absolute ให้การรับประกันการ รับเขียน JAVA เป็นระยะเวลา 3 เดือน เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่า เราเลือกเขียนโปรแกรม จากทีมเรา คุณภาพสูง และทำงานด้วยมืออาชีพ
รับเขียน JAVA Absolute ให้บริการมากว่า รับเขียน JAVA 15 ปี และด้วยความไว้วางใจจากลูกค้ากว่า 500 ราย
![]() |
รับเขียน JAVA
|
รับเขียน JAVA , รับเขียน JSP , strut framework , hibernate , websphere , tomcat , jboss , เขียน jboss
จะเป็นปัจจัยหรือแรงบันดาลใจใดๆ ก็ตาม ที่ทำให้ท่านผู้อ่าน ตัดสินใจเลือกที่จะใช้ภาษาจาวาในการเขียนโปรแกรม ไม่ว่าจะเคยเขียนโปรแกรมมาแล้ว แล้วอยากลองเรียนรู้ภาษาใหม่ๆ หรือเพิ่งเริ่มต้นฝึกหัดเขียนโปรแกรมเลยก็ตาม สำหรับหลายท่านที่อยากเริ่มต้นลองเขียนภาษาจาวาดู อาจยังไม่รู้ว่าจะเริ่มอย่างไรดี เขียนโปรแกรมแบบไหนดี หรือต้องเตรียมเครื่องมืออะไรบ้าง ก็ลองอ่านบทความนี้เพื่อเป็นแนวทางอย่างคร่าวๆ นะครับ
ก่อนอื่นเรามาดูกันก่อนว่า ภาษาจาวานั้นสามารถสร้างโปรแกรมในลักษณะใดได้บ้าง ทั้งนี้ เพื่อให้เห็นวัตถุประสงค์คร่าวๆ ในการเขียนโปรแกรม ดีกว่าเขียนไปโดยที่ไม่รู้ว่าจะเอาไปใช้อย่างไร โดยภาษาจาวานั้นสามารถเขียนโปรแกรมได้หลากหลายรูปแบบด้วยกัน ได้แก่
- Java Application หรือโปรแกรมที่ใช้งานทั่วๆ ไป ไม่ว่าจะเป็นแบบ command-line หรือ GUI (Graphic User Interface) ก็ตาม ซึ่งสามารถทำงานได้ด้วยตัวเอง เพียงแค่มี Java Virtual Machine (JVM) ก็สามารถรันโปรแกรมนี้ได้
- Java Applet เป็นโปรแกรมเล็กๆ ที่ทำงานบนเว็บในฝั่ง client หรือฝั่งผู้ใช้ คือต้องมีการดาวน์โหลดมายังฝั่งผู้ใช้ก่อน แล้วจึงทำงานในหน้าเว็บเพจที่แสดงบนเบราเซอร์ เช่น Internet Explorer หรือ Firefox ซึ่งจะช่วยเสริมการทำงานในหน้าเว็บนั้นๆ
- Servlet & JSP เป็นโปรแกรมที่ทำงานบนเว็บในฝั่ง server หรือฝั่งผู้ให้บริการ ไม่ต้องดาวน์โหลดมาแต่จะทำงานใน server เพื่อควบคุมการแสดงผลของหน้าเว็บ เพื่อใช้ในการสร้างเว็บแอพพลิเคชั่น หรือเว็บไซต์ที่ตอบสนองกับผู้ใช้ได้
- Enterprise Java Beans (EJB) เป็น software component ที่พัฒนาด้วยภาษาจาวา เพื่อใช้ในการประมวลผลข้อมูล หรือจัดเก็บข้อมูลลงฐานข้อมูล โดยปรกติเราจะใช้ EJB ในการพัฒนาโปรแกรมขนาดกลางหรือใหญ่ ที่มีผู้ใช้จำนวนมาก ซึ่งต้องการประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือที่สูงกว่าโปรแกรมทั่วไป เนื่องจาก EJB เป็นเพียง component ที่ทำงานฝั่ง server การรับข้อมูลเข้ามาจะทำที่ฝั่ง client โดย client จะเป็น Java application, web application หรือ applet ก็ได้
- Midlet เป็นโปรแกรมที่งานบน mobile device อย่างเช่น โทรศัพท์มือถือหรือคอมพิวเตอร์พกพาเช่น PDA
โปรแกรมประเภทต่างๆ ที่สามารถเขียนขึ้นได้ด้วยภาษาจาวามีหลากหลายก็จริง แต่ไม่ต้องกังวลว่าจะเลือกไม่ถูก เพราะไม่ว่าโปรแกรมประเภทใดก็เขียนขึ้นด้วยพื้นฐานภาษาจาวาที่เหมือนกัน ดังนั้น เริ่มแรกจึงควรเริ่มที่พื้นฐานการเขียนโปรแกรมก่อน ทั้งนี้ หากว่าใครมีประสบการณ์ในการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาอื่นมาก่อนก็จะทำให้สามารถเรียนรู้ได้เร็วยิ่งขึ้น โดยเฉพาะคนที่มีพื้นฐานภาษา C หรือ C++ มาก่อน จะสามารถเรียนรู้ภาษาจาวาได้รวดเร็วมาก เพราะรูปแบบการเขียนนั้นใกล้เคียงกันมาก ส่วนคนที่ไม่มีพื้นฐานก็อาจต้องใช้เวลาเริ่มต้นสักนิด โดยจะเลือกเรียนอย่างไรขึ้นอยู่กับตัวของท่านผู้อ่าน ล่ะครับ อาจจะเข้าคอร์สเรียนพิเศษ หรือซื้อหนังสือมาอ่านเองก็ได้ แต่ทั้งนี้ หากว่าท่านไม่ได้รีบร้อนจนเกินไป ก็ขอแนะนำว่าซื้อหนังสือมาอ่านเองจะดีกว่าครับ เพราะประหยัดกว่าที่จะต้องไปเข้าคอร์สเรียนราคาแพง อีกทั้งหนังสือนั้นยังอยู่กับตัวเราไม่หายไปไหนด้วย ที่สำคัญเราสามารถรู้ได้ว่าหนังสือนั้นมีเนื้อหาครบถ้วนสมบูรณ์แค่ไหนครับ ขอแค่มีความตั้งใจที่จะอ่านและทำตาม เชื่อว่าไม่ยากเกินความสามารถครับ ซึ่งบทเรียนจาวาสำหรับผู้เริ่มต้นนั้น โดยส่วนใหญ่ตามตำราต่างๆ จะสอนการเขียนโปรแกรมแบบ console หรือ command-line ซึ่งสามารถเรียนรู้ได้ง่ายที่สุด แต่หากเรามีความเชี่ยวชาญในระดับหนึ่ง ก็สามารถประยุกต์ไปเขียนโปรแกรมในรูปแบบอื่นๆ ได้ครับ
สำหรับชุดเครื่องมือต่างๆ ที่ต้องใช้ในการพัฒนาโปรแกรมภาษาจาวานั้น ก่อนอื่น เพื่อให้สามารถรันโปรแกรมที่พัฒนาด้วยภาษาจาวาได้ เราจำเป็นต้องมี Java compiler และ Java interpreter ก่อน โดยการติดตั้ง Java Virtual Machine (JVM) หรือที่เรียกว่า JDK (Java Developer Kit) หรือ SDK (Software Development Kit) ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ของ Oracle (เนื่องจากปัจจุบัน Sun Microsystems ได้รวมบริษัทกับ Oracle แล้ว)
ส่วน editor ที่ใช้นั้น โดยพื้นฐานเลยสามารถใช้ Notepad ซึ่งเป็น text editor ตัวเล็กๆ ที่ติดมากับ Windows ก็ยังได้ แต่เนื่องจากเจ้า Notepad นี้ ไม่มีฟังก์ชั่นการทำงานที่ใช้ช่วยเหลือในการเขียนโปรแกรมเลย ดังนั้น editor ตัวนี้จึงเหมาะสำหรับแค่ใช้เริ่มต้นทำความคุ้นเคยกับภาษาจาวาเท่านั้น แต่หากเป็น editor ที่เหมาะสำหรับเอามาเขียนโปรแกรมแล้ว ตัวหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ Notepad++ ซึ่งเป็น Text editor ที่มีความสามารถต่างๆ ครบถ้วน และยังรองรับการเขียนโปรแกรมได้เกือบ 50 ภาษา ซึ่งแน่นอนว่ารวมถึงภาษาจาวาด้วยครับ และสำหรับผู้ที่ต้องการความสามารถในการช่วยเหลือด้านการเขียนโปรแกรมที่มากกว่าการเป็นแค่ editor ทั่วไป ก็ยังมีโปรแกรมประเภท Java IDE (Integrated Development Environment) ซึ่งโปรแกรม IDE นี้จะรวมเอาโปรแกรมโปรแกรมต่างๆ ที่จำเป็นต่อการพัฒนาโปรแกรมภาษานั้นๆ เอาไว้ เช่น compiler, editor, และ debugger รวมถึง JVM สำหรับภาษาจาวาด้วย ซึ่ง Java IDE ที่เป็นที่นิยมนั้นได้แก่ NetBeans สามารถดาวน์โหลดได้ที่ www.netbeans.org และ Eclipse ที่ท่านผู้อ่าน ใช้กันในค่ายนั่นเองครับ สามารถดาวน์โหลดได้ที่ www.eclipse.org ครับ เมื่อเตรียมชุดเครื่องมือสำหรับพัฒนาพร้อมแล้ว ก็เริ่มฝึกเขียนกันได้เลยครับ หลังจากนี้ก็ขึ้นอยู่กับความพยายามของท่านผู้อ่าน แล้วล่ะ